กำหนดการอบรม
หลักสูตรมารยาทและศิลปะในการใช้โทรศัพท์
อบรมวันที่ 1 ดังรายการต่อไปนี้
วัน/เวลา หัวข้อ/ รายการ ผู้บรรยาย/ผู้รับผิดชอบ
14.00 – 14.10 น.
1. กล่าวทักทายและจุดประสงค์การอบรม
คุณอรวรรณ เจนกสิสาท /Training MGR.
14.10 - 14.30 น.
2. ทำแบบสอบถามก่อนฝึกอบรม
คุณอรวรรณ เจนกสิสาท /Training MGR.
14.30 – 15.00 น.
3. ความหมายและขอบข่ายมารยาทไทย,
การปฏิบัติในท่าไหว้
คุณอรวรรณ เจนกสิสาท /Training MGR.
15.00 - 15.10 น.
4. Coffee Break
พนักงานทุกท่าน
15.10 - 15.20 น.
5. การยืน การเดิน
คุณอรวรรณ เจนกสิสาท /Training MGR.
15.20 - 15.40 น.
7. แบ่งกลุ่มทำ Work Shop
มารยาทการไหว้ ยืน และเดิน
พนักงานทุกคน
15.40 - 16.00 น.
8. ให้แต่ละกลุ่มออกมาปฏิบัติการไหว้ ,ยืนและเดินอย่างถูกวิธี
พนักงานทุกคน
*** ในส่วนของแผนกบัญชี และจัดซื้อก็จะใช้กำหนดการที่เหมือนกันเพียงแต่เวลาในการเข้าอบรม จะเข้าเวลา 16.00 -18.00 น.
หลักสูตร
การไหว้มารยาทไทยหัวใจงานบริการ
ความหมาย มารยาท
“มารยาท” หมายถึง กิริยา วาจาที่สุภาพเรียบร้อย ที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผน อันเหมาะสมตามกาลเทศะ
ขอบข่าย มารยาทไทย
มารยาทไทยครอบคลุมถึงกิริยา วาจาต่าง ๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่าง ๆ
รายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงความเคารพเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทยเป็นเรื่องแรก การแสดงความเคารพมีหลายลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การที่จะแสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูกต้องและเหมาะสม การแสดงความเคารพแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. การไหว้
การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นวัฒนธรรมการทักทาย เวลาพบปะกันหรือลาจากกัน "การไหว้" เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการกล่าวคำว่า "สวัสดี" แล้วยังแสดงออกถึงความหมาย "การขอบคุณ" และ "การขอโทษ" การไหว้เป็นการแสดงมิตรภาพ มิตรไมตรี ที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม โดยยกมือสองข้างประณม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ไม่แยกปลายนิ้วออกจากกัน ยกมือขึ้นในระดับต่างๆ ตามฐานะของบุคคล เเละ เมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ต้องรับไหว้ทุกครั้ง การรับไหว้ใช้ประณมมือแค่อก แล้วยกขึ้นเล็กน้อย ก้มศีรษะ
การปฏิบัติในท่าไหว้ประกอบด้วยกิริยา ๒ ส่วน
1. การประนมมือ (อัญชลี)
2. การไหว้ (วันทนา)
1. การประนมมือ (อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ
วิธีการประนมมือ
ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกันตั้งเป็นกระพุ่มมือประนมไว้ระหว่างอกให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือทั้งสองข้างทุกนิ้วแนบชิดสนิทกันอย่าให้เหลื่อมล้ำกันอย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง (ดังรูป)
การประนมมือนี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์ รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า เป็นต้น
2. ลักษณะการเเสดงความเคารพด้วยการไหว้ (วันทนา)
การแสดงความเคารพมีหลาย ลักษณะ เช่น การประนมมือ การไหว้ การกราบ การคำนับ การถวายความเคารพ การถวายบังคม เป็นต้น การที่จะ แสดงความเคารพในลักษณะใดนั้น ต้องพิจารณาผู้ที่ จะรับความเคารพด้วยว่าอยู่ในฐานะเช่นใด หรือในโอกาสใด แล้วจึงแสดงความเคารพให้ถูกต้องและเหมาะสมการแสดงความเคารพแบ่งได้ดัง นี้คือ
การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ตามระดับของบุคคล ดังนี้
2.1 การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้ ปฎิบัติดังนี้
การไหว้พระรัตนตรัย
นิยมแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยการไหว้เมื่อนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ มีวิธีการทำดังนี้คือ
2.1 ประนมมือไว้ระหว่างอก
2.2 ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้
ปลายนิ้วชี้จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม (ดังรูป)
2.2 การไหว้บุคคล การไหว้ซึ่งกันและกันนั้นนิยมปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมแก่ชั้น และวัยของบุคคลนั้นๆ มี 3 แบบ คือ
2.2.1 การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า(เป็นผู้ใหญ่มากกว่า)
2.2.2 การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน
2.2.3 การไหว้บุคคลผู้มีอายุน้อยกว่า
2.2.1 การไหว้บุคคลที่มีอายุมากกว่า
สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่โดยถือหลักมีชาติกำเนิดสูงกว่ามีคุณธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและมีอายุ แก่กว่าตน
การไหว้นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูกพร้อมกับก้มศีรษะน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่านด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน
2.2.2 การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
นิยมยกมือกระพุ่มขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูกนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คางก้มศีรษะเล็กน้อยสายตามองกันและกันด้วยความหวังดังปรารถนาดีต่อกัน
ในการไหว้ผู้เสมอกันทั้งชาย และหญิงให้ยกมือขึ้นไหว้พร้อมกัน หรือใน เวลาใกล้เคียงกัน ในกรณีที่ทำพร้อมกันเป็น หมู่คณะ ควรจะนัดหมายให้ทำอย่างเดียวกัน การไหว้ตามมารยาทไทยเช่นนี้ ปฏิบัติให้เรียบ ร้อยนุ่มนวลด้วยความสำรวมจึงจะดูงาม
2.2.3. การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า
สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย วิธีรับไหว้ ยกกระพุ่มมือขึ้นประนมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้าให้ปลาย
นิ้วชี้อยู่ที่ตั้งจมูกปลายนิ้วอยู่ที่ดั้งจมูกปลายนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่คางสายตามองดูผู้ไหว้ด้วย ความปรารถนาดี
เมื่อมีผู้ทำความเคารพให้แก่เรา ควรรับไหว้ คือเคารพตอบเพื่อมิไห้เสียมารยาท หรือทำให้ผู้แสดงความเคารพต้องกระดากใจ หรือโกรธจนเป็นเหตุให้นึกไม่อยากจะเคารพต่อไปได้
การคำนับ
เป็นการแสดงความเคารพแบบสากล ในกรณีที่ไม่ไหว้หรือกราบ ให้ยืนตัวตรง ส้นเท้าชิดกัน ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือปล่อยไว้ข้างลำตัว ปลายนิ้วกลางแตะตะเข็บกางเกงหรือกระโปรงด้านข้าง ค้อมช่วงไหล่และศีรษะลงเล็กน้อย แล้วเงยหน้าขึ้นในท่าตรง การคำนับนี้ ส่วนมากเป็นการปฏิบัติของชาย แต่หญิงให้ใช้ปฏิบัติได้เมื่อแต่งเครื่องแบบและไม่ได้สวมหมวก
สาเหตุเเละเหตุการณ์ที่คนต้องไหว้
1. ไหว้เพราะความเลื่อมใส
2. ไหว้เพราะความกลัว
3. ไหว้เพราะสำนึกผิด
4. ไหว้เพราะสำนึกคุณ หรือแสดงวัฒนธรรม
สรุป ผลของการไหว้แล้ว จะได้เป็น 3 ประการคือ
1. ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ
2. ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้
3. ช่วยให้ผู้ถูกไหว้พัฒนาตนเอง
ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ นั้น ก็ด้วยผู้ไหว้สำนึกตนว่าได้ประกอบกรรมดี ประพฤติดีงาม ทำให้เกิดความสบายใจอิ่มเอมใจ ส่วนผู้ที่ ได้รับเมตตา นั้น ก็หมายถึงได้รับการตอบสนองด้วย ความรู้สึกที่ดีมีค่า ความเมตตาเป็นความรู้สึกทางคุณธรรมที่ให้ประโยชน์สุขโดยทางเดียว ไม่เจือด้วยทุกข์โทษแต่อย่างใดเลย เมื่อเราไหว้ท่าน ท่านก็เมตตาเราโดยการแสดงตอบแทน เช่น บาลีว่า ปูชโก ลภเต ปูชํ ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ วนฺ ทโก ปฏิวนฺ ทนํ ผู้ไหว้ก็ย่อมได้รับการไหว้ตอบ ตามกฏแห่งเหตุผล
ข้อควรระวังในการไหว้
ข้อสำคัญที่ควรคำนึงสังวรระวังก็มีว่า อย่าไหว้ อย่าแสดงการบูชา สักแต่ว่าเป็นพิธี เป็นกิริยาเฉพาะช่วงที่ทำพิธีเท่านั้น ควรจะให้การไหว้ออกจากน้ำใจอันแท้จริง ในหลักธรรมตามมงคลสูตร อนุโลมเข้ากับการไหว้ได้แก่ การยกย่องเทิดทูนคุณความดี เรียกว่าบูชาการตระหนักถึงความสำคัญของท่านเรียกว่า คารวะ การระลึกถึงอุปการคุณของท่านเรียกว่า กตัญญู เหล่านี้ล้วนเป็นแต่แรงบันดาลให้มีการไหว้ทั้งนั้น
การยืน
1.1 การยืนรับคำสั่ง ให้ยืนตรง ชิดเท้า หน้าตรง ปล่อยมือไว้ข้างตัว
การยืนรับคำสั่ง
1.2 การยืนให้เกียรติผู้ใหญ่ การยืนลักษณะนี้ใช้เมื่อเรานั่งสนทนากันอยู่แล้วมีผู้ใหญ่เดินเข้ามา หรืออยู่ร่วมสนทนาด้วย ให้ลุกขึ้นยืนตรง มือประสานกันอยู่ระดับเอว ค้อมตัวเล็กน้อย รอจนผู้ใหญ่นั่งลงแล้วจึงนั่งลง
1.3 การยืนสนทนากับผู้ใหญ่ ให้ยืนตรง ชิดเท้า ค้อมตัวเล็กน้อย มือประสานกันอยู่ระดับเอว ไม่ควรยืนชิดหรือห่างผู้ใหญ่จนเกินไป
1.4 การยืนคุยกับเพื่อน การยืนพักผ่อน และการยืนดูมหรสพ ควรยืนในลักษณะสุภาพ ไม่ก่อความรำคาญหรือเกะกะกีดขวางผู้อื่น เช่น ยืนพูดข้ามศีรษะ หรือยืนบังผู้อื่นในการยืนดูมหรสพหรือขบวนแห่ เป็นต้น
1.5 การยืนเข้าแถวคอย ลักษณะการยืนเช่นเดียวกับข้อ 1.4 แต่จะต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบ เรียงลำดับก่อนหลัง ไม่ควรแย่งกัน เช่นการยืนตามลำดับก่อนหลังในการเตรียมขึ้นรถโดยสาร ในการขึ้นเผาศพ ในการรดน้ำอวยพรคู่บ่าวสาว และในการตักอาหารแบบช่วยตัวเอง
1.6 การยืนปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่การยืนประกาศ ยืนบรรยาย หรือยืนแสดงปาฐกถา ฯลฯ ควรยืน ในลักษณะสุภาพ
1.7 การเดินเข้า – ออกระหว่างการประชุม โดยมารยาททั่วไป ผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินเข้าหรือ ออกระหว่างที่กำลังมีการประชุม ควรแสดงความเคารพ ประธานของที่ประชุมทุกครั้งด้วยการไหว้หรือคำนับเมื่อลุกจากที่นั่ง และเมื่อเข้าสู่ที่ประชุม
1.8 การเดินผ่านผู้ใหญ่ ขณะที่ผ่านผู้ใหญ่ไม่ควรเดินลงส้น หรือ มีเสียงดัง และต้องผ่านใน ระยะห่างพอสมควร
1.9 ขณะผู้ใหญ่ยืน ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัวและค้อมตัวเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่
2.0 ขณะผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้ ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวม ปล่อยมือไว้ข้างตัว ค้อมตัวพร้อมกับย่อเข่าเมื่อใกล้ถึงผู้ใหญ่นั่งเก้าอี้อยู่ แต่ถ้าเป็นในบ้านอาจจะใช้วิธีเดินเข่าก็ได้
2.1 ขณะผู้ใหญ่นั่งหรือนอนกับพื้น ทั้งชายและหญิงให้เดินผ่านในลักษณะสำรวมเมื่อถึงที่ผู้ใหญ่นั่ง อยู่ให้ทรุดตัวลงเดินเข่า เมื่อผ่านผู้ใหญ่ไปแล้วค่อยลุกขึ้นเดิน
วิธีเดินเข่า ให้คุกเข่าปลายเท้าตั้ง แล้วค่อยสืบเข่าออกทีละข้างเหมือนกับการเดินและค้อมตัวลงเล็กน้อยเมื่อใกล้จะถึงผู้ใหญ่
2. การเดินนำหรือเดินตามผู้ใหญ่
2.1 การเดินนำ เดินระยะห่างพอสมควร จะอยู่ด้านใดแล้วแต่สถานที่จะอำนวย แต่โดยปกติผู้เดินจะอยู่ทางซ้ายของผู้ใหญ่ เดินลักษณะสำรวม
2.2 การเดินตาม เดินเบื้องหลังเยื้องไปทางซ้ายของผู้ใหญ่เดินลักษณะสำรวมระยะห่างพอสมควร
การเดินตามผู้ใหญ่
No comments:
Post a Comment
ခင္မင္စြာျဖင့္ မွတ္တမ္းေလး အမွတ္တရေေရးခဲ့ပါဗ်ာ